วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2561

ละครนอก





ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ละครนอก



            ละครนอก เป็นละครของภาคกลาง นัยว่าวิวัฒนาการมาจากโนราเพราะมีความมุ่งหมายเช่นเดียวกันคือ ดำเนินเรื่องรวดเร็ว และตลกขบขันสมัยโบราณผู้แสดงผู้ชายล้วน เพิ่งมีผู้หญิงแสดงในปลายสมัยรัชกาลที่ เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกการห้ามมิให้บุคคลทั่วไปมีละครผู้หญิงในตอนหลังผู้แสดงเป็นผู้หญิงโดยมาก ผู้ชายเกือบจะไม่มี


          ตัวละคร มีครบทุกตัวตามเนื้อเรื่อง ไม่จำกัดจำนวนดนตรี ใช้วงปี่พาทย์ จะเป็นเครื่องห้า เครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่ ได้ทั้งนั้นโรงละคร มีฉากเป็นผ้าม่าน มีประตูเข้าออก ประตู หลังฉากเป็นที่แต่งตัวและสำหรับให้ตัวละครพัก หน้าฉากเป็นที่แสดงตั้งเตียงตรงกลางหน้าฉาก การแต่งกายเลียนแบบเครื่องต้นของกษัตริย์ ตัวพระสวมชฎา ตัวนางสวมเครื่องประดับศีรษะตามฐานะเช่น มงกุฎกษัตรี รัดเกล้ายอด รัดเกล้าเปลว และกระบังหน้าเสื้อผ้าปักดิ้นเลื่อมแพรวพราว การแสดง มีคนบอกบท มีต้นเสียงและลูกคู่สำหรับร้องบางตัวละครอาจร้องเอง การรำเป็นแบบแคล่วคล่องว่องไวพริ้งเพรา
          จังหวะของการร้องและการบรรเลงดนตรีค่อนข้างเร็วเวลาเล่นตลกมักเล่นนานๆ ไม่คำนึงถึงการดำเนินเรื่อง และไม่ถือขนบธรรมเนียมประเพณีเช่น ตัวกษัตริย์หรือมเหสีจะเล่นตลกกับเสนาก็ได้ เริ่มต้นแสดงก็จับเรื่องที่เดียวไม่มีการไหว้ครู เรื่องที่ละครนอกแสดงได้สนุกสนานเป็นที่นิยมแพร่หลายบทที่สามัญชนแต่งได้แก่ เรื่องแก้วหน้าม้า ลักษณวงศ์ และจันทโครพบทที่เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ได้แก่ เรื่องสังข์ทอง สังข์ศิลป์ชัย ไชยเชษฐ์คาวี มณีพิชัย และไกรทอง
ละครใน  เป็นละครที่เกิดขึ้นในพระราชฐานจึงเป็นละครที่มีระเบียบแบบแผน สุภาพละครในมีความมุ่งหมายสำคัญอยู่ ประการ คือรักษาศิลปของการรำอันสวยงามรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีเคร่งครัด รักษาความสุภาพทั้งบทร้องและเจรจา เพราะฉะนั้นเพลงร้อง เพลงดนตรี จึงต้องดำเนินจังหวะค่อนข้างช้าเพื่อให้รำได้อ่อนช้อยสวยงาม
          ดนตรี ใช้วงปี่พาทย์ จะเป็นวงเครื่องห้าเครื่องคู่หรือเครื่องใหญ่ ก็ได้โรงมีลักษณะเดียวกับโรงละครนอกแต่มักเรียบร้อยสวยงามกว่าละครนอก เพราะใช้วัสดุที่มีค่ากว่าเนื่องจากมักจะเป็นละครของเจ้านาย หรือผู้ดีมีฐานะ เครื่องแต่งกายแบบเดียวกับละครนอก แต่ถ้าแสดงเรื่องอิเหนาตัวพระบางตัวจะสวมศีรษะด้วยปันจุเหร็จในบางตอน (ปันจุเหร็จในสมัยปัจจุบันมักนำไปใช้ในการแสดงเรื่องอื่นๆด้วย) การแสดง มีคนบอกบท ต้นเสียง ลูกคู่การร่ายรำสวยงามตามแบบแผน เนื่องจากรักษาขนบประเพณีเคร่งครัดการเล่นตลกจึงเกือบจะไม่มีเลย
          บทที่แต่งใช้ถ้อยคำสุภาพคำตลาดจะมีบ้างก็ในตอนที่กล่าวถึงพลเมือง ผูแสดงเป็นผู้หญิงล้วนตัวประกอบอาจเป็นผู้ชายบ้าง เรื่องที่ใช้แสดงละครใน แต่โบราณมีเพียง เรื่อง คือเรื่องรามเกียรติ์ อิเหนา และอุณรุท ภายหลังได้มีเพิ่มขึ้นบ้างเช่น เรื่องศกุลตลาพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6





ความแตกต่างระหว่างละครนอกและละครใน
ละครนอกนั้นแต่ก่อนมีอยู่หลายคณะต่างคณะต่างออกรับจ้างเล่นละครตาม งานต่างๆ สุดแล้วแต่จะมีผู้หาเพราะฉะนั้นบทละครนอกจึงคงมีอยู่ด้วยกันทุกคณะเป็นสำนวนที่แตกต่างกันสุดแล้วแต่ใครจะแต่งบทให้ถูกใจคนดูได้มากเพื่อแข่งขันกันเรื่องที่ได้นำมาแต่งเป็นบทละครนอกนั้นมีอยู่หลายเรื่องและมากกว่าเรื่องที่ใช้แสดงละครใน เช่น เรื่องสังข์ทอง เรื่องมณีพิชัย เรื่องคาวี เรื่องไชยเชฐ เรื่องพระสุธนมโนห์รา เรื่องสังข์ศิลป์ชัย และเรื่องพระรถ เป็นต้นนอกจากนี้แล้วก็ยังมีเรื่องละครนอก อื่นๆ อีกมากซึ่งบัดนี้ได้สาบสูญไปแล้วในกาลเวลาอันยาวนานแห่งอดีต เรื่องละครนอกเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากนิทานในศาสนาพุทธ คือ ปัญญาสชาดก หรือนิทานชาดกห้าสิบ เรื่องซึ่งพระเถระในภาคเหนือได้รวบรวมเอานิยายพื้นเมืองมาแต่งในรูปชาดกเมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว นิทานชาดกห้าสิบเรื่องนี้เคยเป็นที่นิยมมากของคนไทยในทุกภาคจึงได้นำมาแต่งเป็นบทละครนอกและใช้ในการแสดงต่อมา
บทละครในนั้นนับได้ว่าเป็นวรรณคดีของชาติทุกเรื่องว่าโดย ทั่วไปแล้วบทกลอนของบทละครในจะไพเราะประณีตยิ่งกว่าละครนอก และในเวลาแสดงก็จะมีการร้องเป็นระยะเวลานานๆ ตามบทซึ่งแต่งไว้ยาว เพราะผู้ดูเป็นผู้ที่อยู่ในระเบียบแบบแผน ประเพณี มีมารยาทดี สามารถจะนั่งฟังเพลงที่ไพเราะและชมบทรำที่เชื่องช้าประณีตได้ แต่ชาวบ้านทั่วไปที่ต้องทำมาหากินเห็นจะรอไม่ได้บทละครนอกจึง มักจะสั้นกว่า และตรงไปตรงมายิ่งกว่าบทละครในแต่ความแตกต่างที่สำคัญที่สุดนั้น ก็คือ ละครในเล่นอยู่เพียงสามเรื่อง คือเรื่องอุณรุท รามเกียรติ์และอิเหนาเท่านั้น ในทั้งสามเรื่องนี้ท้าวพระยามหากษัตริย์เป็นตัวเอกทั้งสิ้น และบทละครก็แต่งไปในทางยกย่องส่งเสริมท้าวพระยามหากษัตริย์ที่เป็นตัวเอกนั้น ไม่มีตอนใดเลยในบทละครในที่จะทำให้มองไปเห็นว่าหมิ่นหรือเห็นท้าวพระยามหากษัตริย์เป็นตัวตลก เป็นการยกย่องสรรเสริญโดยตลอดเพราะเป็นละครที่เล่นในพระราชฐาน แต่ละครนอกที่ชาวบ้านเขาเล่นดูกันนั้น ท้าวพระยามหากษัตริย์เป็นตัวตลกทั้งสิ้น ไม่มีความดีอะไรเลย ขี้ขลาดตาขาวสารพัด ท้าวสามลในเรื่องสังข์ทองก็เป็นตัวตลกท้าวเสนากุฎในเรื่องสังข์ศิลป์ชัยก็เป็น ตัวตลกท้าวสันนุราชในเรื่องคาวีก็เป็นตัวตลก ขึ้นชื่อว่าพระเจ้าแผ่นดินแล้วบทละครนอกเขียนให้เป็นตัวตลกหมด และแม้แต่บทละครนอกซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์โดยรักษาลักษณะของละครนอกไว้ครบถ้วน








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น